วิธีใช้งานมอเตอร์กับปั๊มชัก

3 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อใช้งานมอเตอร์กับปั๊มน้ำแบบลูกสูบ (ปั๊มชัก)

3 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อใช้งานมอเตอร์กับปั๊มน้ำแบบลูกสูบ (ปั๊มชัก) คุณเคยไหมกับการใช้งานปั๊มลูกสูบ (ปั๊มชัก) แล้วมอเตอร์มีปัญหามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง สาเหตุมันคืออะไรและวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจะทำอย่างไร ? ตรวจดูก่อนเลยว่าท่อน้ำทางออกอุดตัน (กรณีสายยาง อาจเกิดการพับงอ) หรือไม่ หากเกิดเหตุการณ์นี้ มอเตอร์จะหมุนช้าลงจนถึงหยุดนิ่ง กระแสไฟฟ้าในตัวมอเตอร์จะสูง อุณหภูมิขดลวดก็จะขึ้นสูงจนไหม้ ดังนั้นก่อนสตาร์ทมอเตอร์ หรือในขณะปั๊มทำงาน ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ท่อน้ำทางออกไม่ถูกบีบหรือถูกปิดกั้น ก่อนสตาร์ทเครื่อง ได้ตรวจสอบว่ามีน้ำค้างในท่อหรือไม่ กรณีส่งน้ำในแนวดิ่งหรือทางลาดเอียง ปริมาณน้ำในท่อส่งจะมีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะหากมีระยะสูงหรือทางไกลๆ ดังนั้นก่อนทำการสตาร์ทมอเตอร์ ให้ปล่อยน้ำออกจากท่อส่งเสียก่อน เพื่อลดภาระตอนสตาร์ทของมอเตอร์ หากไม่เช่นนั้นแล้ว มอเตอร์อาจเกิดอาการสตาร์ทไม่ออก จนทำให้ขดลวดไหม้ ไม่ได้ใช้งานปั๊มน้ำเป็นเวลานาน หากไม่ได้ใช้งานปั๊มน้ำเป็นเวลานาน อาจเกิดการติดขัดของลูกสูบภายใน ซึ่งจะทำให้มอเตอร์ไม่สามารถสตาร์ทออกได้ จนทำให้ขดลวดไหม้ ดังนั้น ก่อนใช้งานให้ตรวจสอบโดยใช้มือหมุนพูเล่ของปั๊ม เพื่อตรวจสอบการติดขัดของลูกสูบ และจุดหมุนอื่นๆ เสียก่อน รวมถึงการตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นเพลาข้อเหวี่ยง เมื่อมั่นใจว่าไม่มีอาการติดขัดใดๆ จึงสตาร์ทมอเตอร์ สาเหตุที่กล่าวข้างต้น เป็นสาเหตุที่พบเจอบ่อยๆ ดังนั้นหมั่นตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนใช้งาน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม
มอเตอร์เสียงดังเกิดจากอะไร

มอเตอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร ?

มอเตอร์เกิดเสียงดังผิดปกติ เกิดจากอะไร ? เมื่อมอเตอร์ทำงาน จะเกิดการหมุนของโรเตอร์และใบพัดระบายความร้อนซึ่งจะเกิดเสียงขณะทำงาน แต่เสียงที่เกิดขึ้นต้องนิ่ง สม่ำเสมอ ถ้าผิดจากนี้ คือ เสียงดังที่ผิดปกติ แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังผิดปกติ ? เสียงที่พบบ่อยคือ เกิดจากจาระบีในตลับลูกปืนแห้ง หรือลูกปืนสึกหรอลักษณะของเสียงจะเป็นการหอนหรือเกิดเสียงหวีด การติดตั้งที่ไม่ได้ระนาบ (Alignment) มอเตอร์ไม่อยู่ในแนวเดียวกันกับแนวติดตั้ง ทำให้เกิดการขัดกันของเพลามอเตอร์ หรือเกิดการสั่นสะเทือน เสียงฮาโมนิกส์ฮัม จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขณะโรเตอร์หมุน เกิดจากการมีปัจจัยที่ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า เช่น การใช้งานกับอินเวอร์เตอร์ ความผิดปกติของชิ้นส่วนมอเตอร์ เป็นต้น “ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติเของเสียงได้ ก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด”

อ่านเพิ่มเติม
วิธีเลือกมอเตอร์ไฟฟ้า

3 ข้อง่ายๆ เลือกมอเตอร์…ไม่พังไว

3 ข้อง่ายๆ เลือกมอเตอร์…ไม่พังเร็ว เลือกมอเตอร์ให้เหมาะกับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามอเตอร์ (โวลท์ และ เฟส) เลือกกำลังของมอเตอร์ตามโหลดเครื่องจักรต้องการ (HP หรือ kW) จำนวนโพล (Pole) หรือ ความเร็วรอบของมอเตอร์ตรงกับการใช้งานของเครื่องจักร (Speed / min-1, rpm) ส่งซ่อมสินค้า เรียกช่างบริการหน้างาน แจ้งปัญหาสินค้า สอบถามงานบริการ Line id : @service.meath สั่งซื้ออะไหล่มอเตอร์และปั๊มน้ำ Line id : @shop.meath ติดต่อทางโทรศัพท์ : 02-906-3337, 02-906-3338

อ่านเพิ่มเติม
อะไรทำให้มอเตอร์หมุนช้า

อะไรที่ทำให้ มอเตอร์หมุนช้า ?

ทำไมมอเตอร์ถึงหมุนช้า ? การใช้งานมอเตอร์ อีกหนึ่งปัญหาที่มักจะพบจากผู้ใช้งานคือมอเตอร์หมุนช้า ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้ แรงดันไฟฟ้าตกหรือมาไม่ครบเฟส (จากระบบการไฟฟ้า) แรงดันไฟฟ้าตก เนื่องจากใช้สายไฟมีขนาดเล็ก หรือยาวเกินไป จุดต่อสายไฟหลวม สกปรก ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไม่สะดวก (มอเตอร์หมุนช้า ไม่มีกำลัง) ขนาดโหลดที่นำมาใช้งานกับมอเตอร์มีขนาดใหญ่เกินไป (Overload) ตลับลูกปืนแตก เบ้าลูกปืนชำรุด หรือเสื่อมสภาพ อุปกรณ์ควบคุมและป้องกัน หน้าสัมผัสชำรุด หรือมีสิ่งสกปรก ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไม่สะดวก วิธีแก้ไขปัญหา ตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญและแจ้งการไฟฟ้าแก้ไข เปลี่ยนใช้สายไฟที่มีขนาดและความยาวที่เหมาะสม แก้ไขและทำความสะอาดจุดเชื่อมต่อสายไฟ เปลี่ยนขนาดของโหลดมอเตอร์ให้มีขนาดน้อยลง หรือเปลี่ยนขนาดของมอเตอร์ ให้เหมาะสม ทำการเปลี่ยนซ่อมแก้ไขโดยช่างผู้ชำนาญ ตรวจสอบแก้ไขโดยช่างผู้ชำนาญ   ทั้งนี้หากเราวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์หมุนช้าได้ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหา          ได้ตรงจุด โดยไม่เกิดความเสียหายต่อมอเตอร์

อ่านเพิ่มเติม

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ MEATH ฉบับปรับปรุง

บริษัทได้ทำการปรับปรุงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กัยยายน 2566 ดังนี้ ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาอังกฤษ

อ่านเพิ่มเติม

เลิกได้แล้ว จ้างคนจดหน่วยไฟหน้ามิเตอร์

เลิกได้แล้ว จ้างคนจดค่าหน่วยไฟ Solar ที่หน้ามิเตอร์ อ่านค่าหน่วยไฟ Online ได้ทุกไซต์จากส่วนกลาง ผ่าน Gateway หรือ 3G Modem ด้วย Smart Meter SMW110 ที่พัฒนาให้ดีกว่าเดิม เพื่อรองรับอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ทำให้ไม่ต้องเข้าไปอ่านค่าหน่วยไฟที่หน้างาน Solar ให้เสียทั้งเงินและเวลา     ปัญหาผู้เช่าร้องเรียนค่าไฟแพง หมดไปหากใช้มิเตอร์จานหมุนที่ได้มาตรฐานความแม่นยำ

อ่านเพิ่มเติม

ทราบหรือไม่ มิเตอร์จานหมุนมีกี่เกรด

คุณทราบหรือไม่ มิเตอร์จานหมุนที่วางขายกันทั่วไปมีกี่เกรด มิเตอร์ไฟฟ้า ชนิดจานหมุน มีอยู่ด้วยกัน 4 เกรด คือ มิเตอร์เกรดสูง – ใช้วัสดุคุณภาพสูง มีค่าความผิดพลาดเพียง +-2% ซึ่งไม่เกินมาตรฐานของ มอก./หรือ ไออีซี และ สามารถใช้งานได้ยาวนานไม่ต่ำกว่า 10 ปี มิเตอร์เกรดปานกลาง – มีค่าความผิดพลาดไม่เกินมาตรฐานของ มอก./หรือ ไออีซี ในตอนเริ่มต้น แต่เนื่องจากไม่ได้เลือกใช้ชิ้นส่วนเกรดสูง ใช้งานไป 2-3 ปี ค่าความผิดพลาดอาจมากขึ้นจนเกินมาตรฐาน กว่า 5% มิเตอร์เกรดต่ำ – เป็นมิเตอร์ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก./หรือ ไออีซี โดยที่ค่าความผิดพลาดอาจมากจนเกินมาตรฐาน นอกจากนั้นพอใช้ไปสักระยะอาจจะชำรุดจนติดขัด หรือหมุนกลับ มิเตอร์รีบิ้ว/ปลอม – เป็นมิเตอร์มือสองที่ถูกประกอบขึ้นมาจากเศษชิ้นส่วนมิเตอร์หลากหลายยี่ห้อที่ชำรุดหรือหมดอายุแล้ว ทำให้ค่าความผิดพลาดมากจนเกินมาตรฐานและพอใช้ไปสักระยะก็จะชำรุดจนติดขัด หรือหมุนกลับ บางกรณีมีการปลอมแปลงแผ่นป้ายชื่อเป็นมิเตอร์ยี่ห้อดังๆอีกด้วย ปัญหาผู้เช่าร้องเรียนค่าไฟแพง หมดไปหากใช้มิเตอร์จานหมุนที่ได้มาตรฐานความแม่นยำ

อ่านเพิ่มเติม
วิธีเลือกมิเตอร์ไฟฟ้า

มิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้า ไม่ใช่หม้อไฟ

6 วิธีเลือกมิเตอร์วัดไฟคุณภาพดี ความเข้าใจผิดที่ผู้ใช้ไฟเรียกมิเตอร์ไฟฟ้าว่าหม้อไฟ ความหมายจริงๆเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าคนละแบบเลยครับ มิเตอร์ไฟฟ้า หรือ มิเตอร์วัดไฟ มิเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผ่านไปในวงจรไฟฟ้า โดยมิเตอร์ไฟฟ้าจะวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านทางสายไฟ และวัดแรงดันไฟฟ้าของวงจร จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณเพื่อหาปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผ่านไปในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถแปลงเป็นหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ระบุในใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจ่ายเงินค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยที่ใช้ได้ถูกต้องตามจริง หม้อไฟ หรือ หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อไฟหรือหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงแรงดันไฟฟ้าจากระดับที่สูงกว่าเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานต่าง ๆ โดยทั่วไปหม้อแปลงไฟฟ้าจะมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยคอยล์สายไฟสำหรับปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าในการทำงาน และเนื่องจากมีหลายขนาดและส่วนประกอบต่าง ๆ ทำให้มีการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าในหลายๆ ระบบไฟฟ้าตามความต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
มิเตอร์จานหมุน บวกลบไม่เกินมาตรฐาน 2%

ข้อควรรู้ค่าความแม่นยำไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์

ด้วยขั้นตอน “การ Adjust มิเตอร์อย่างละเอียดก่อนออกสู่ตลาด” ทำให้มิเตอร์จานหมุนมิตซูบิชิมีค่าความแม่นยำ บวกลบไม่เกินมาตรฐาน 2% ทุกเครื่อง ต่างจากมิเตอร์ยี่ห้อทั่วไปที่ค่าบวกถึง 6% นั่นทำให้มิเตอร์หมุนเร็วกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า ปัญหาผู้เช่าร้องเรียนค่าไฟแพงจะหมดไปหากใช้มิเตอร์จานหมุนที่ได้มาตรฐานความแม่นยำ มิเตอร์จานหมุนอื่นที่ผ่านมาตรฐาน มอก., IEC ก็มีค่าความแม่นยำ บวก/ลบ ไม่เกินมาตรฐาน ตาม Class ของรุ่นนั้นๆเช่นกัน ไม่ได้ผิดเพี้ยนกว่า 6% (กรณี 6% น่าจะเป็นมิเตอร์ Re-Build) ปัญหาผู้เช่าร้องเรียนค่าไฟแพง หมดไปหากใช้มิเตอร์จานหมุนที่ได้มาตรฐานความแม่นยำ

อ่านเพิ่มเติม
มิเตอร์แม่นยำ

เที่ยงตรง แม่นยำ ทดสอบจริงทุกเครื่อง

“เที่ยงตรง แม่นยำ ทดสอบจริงทุกเครื่อง” ด้วยขั้นตอนการปรับค่าความแม่นยำและทดสอบมิเตอร์อย่างละเอียดก่อนออกสู่ตลาด ทำให้มิเตอร์จานหมุน มิตซูบิชิ มีค่าความแม่นยำบวกลบไม่เกินมาตรฐาน 2% ทุกเครื่อง ต่างจากมิเตอร์ยี่ห้อทั่วไปที่ค่าความแม่นยำอาจผิดเพี้ยนกว่า 6% นั่นทำให้ค่าไฟที่เก็บได้มีโอกาสขาดทุนสูงโดยไม่รู้ตัว มิเตอร์จานหมุนอื่นที่ผ่านมาตรฐาน มอก., IEC ก็มีค่าความแม่นยำ บวก/ลบ ไม่เกินมาตรฐาน ตาม Class ของรุ่นนั้นๆเช่นกัน ไม่ได้ผิดเพี้ยนกว่า 6% (กรณี 6% น่าจะเป็นมิเตอร์ Re-Build) มิเตอร์ไฟฟ้าชนิดจานหมุนมิตซู รุ่น MF-33E 15(45)A สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line ID: call center 02-540-6991 หรือ คลิก https://bit.ly/2zYA1Ff ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์และดาวน์โหลดโบรชัวร์ได้ที่ https://bit.ly/3ghhMe0 เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 17.00 น.  

อ่านเพิ่มเติม